วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

การวัดการกระจาย (Measure of Dispersion)

          ทำไมเราต้องวัดการกระจายตัวของข้อมูล  การหาแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางไม่เพียงพอที่จะอธิบายลักษณะของข้อมูลเหรอ?
          การจะอธิบายถึงกลุ่มข้อมูลให้ได้สมบูรณ์นั้น  เราจำเป็นต้องพิจารณาทั้งค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง  และการกระจายของข้อมูล  เพราะค่าแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางจะอธิบายถึงตัวแทนของข้อมูลเท่านั้น  ไม่สามารถบอกภาพรวมหรือลักษณะการเกาะกลุ่มกันของข้อมูลได้  ซึ่งการวัดการกระจายจะช่วยในการอธิบายภาพรวมของข้อมูลว่าค่าของข้อมูลมีลักษณะเป็นอย่างไร  มีค่าเหมือนหรือแตกต่างกัน และแตกต่างจากค่าตัวแทนของข้อมูลเท่าใด  เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนภาพขึ้นเรามาดูตัวอย่างกันเลย

         สมมติเรามีข้อมูลความสูงของต้นไม้ จำนวน 5 ต้น โดยแยกใส่ปุ๋ย 2 ชนิด เป็นระยะเวลา 1 สัปดาห์  แล้วจึงวัดความสูงได้ข้อมูลดังนี้


          ถ้าเราพิจารณาแค่ค่าเฉลี่ยความสูงของต้นไม้ จะพบว่าค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ 4.2 ซ.ม.  เราอาจสรุปเลยว่าปุ๋ยทั้ง 2 ชนิดส่งผลต่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ไม่แตกต่างกัน  แต่ถ้าเราพิจารณาค่าการกระจายคือ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานด้วยจะพบว่ามีค่าแตกต่างกัน  ซึ่งกลุ่ม 1 มีค่าน้อยกว่ากลุ่ม 2  แสดงว่าความสูงของต้นไม้กลุ่ม1 มีค่าเกาะกลุ่มกัน (ถ้าเราดูค่าสูง-ต่ำ จะเห็นว่ากลุ่ม 2 ค่าต่างกันมาก)  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปุ๋ย  2  ชนิดนี้ส่งผลต่อความสูงของต้นไม้ที่แตกต่างกัน   
          ดังนั้นในการเลือกใช้ปุ่ย  ถ้าเราอยากให้ความสูงของต้นไม้สม่ำเสมอกัน เราก็ควรจะเลือกปุ๋ยที่ใส่ให้กลุ่ม 1  เพราะปุ๋ยที่ใส่ให้กลุ่ม 2  ค่อนข้างมีความแตกต่างกันมาก

          จากข้อมูลตัวอย่างทำให้เรามองเห็นภาพชัดเจนขึ้นว่าทำไมเราจึงต้องวัดการกระจายร่วมกับการวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลางของข้อมูล  ก็เพื่อให้อธิบายลักษณะของข้อมูลได้สมบูรณ์นั่นเอง  ต่อไปเรามารู้จักการวัดการกระจายกันเลย

การวัดการกระจายคืออะไร

          การวัดการกระจาย (Measure of Dispersion)  เป็นเครื่องมือในกลุ่มสถิติเชิงบรรยาย  ใช้เพื่อบอกภาพรวมของข้อมูล  โดยจะอธิบายลักษณะข้อมูลว่ามีการกระจายหรือแปรผันออกจากค่ากลางข้อมูลแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด  และค่าความแปรผันนี้เราจะเรียกว่า "ค่าเบี่ยงเบน(Deviation)" 

               ค่าความเบี่ยงเบน = ขนาดความเบี่ยงเบนจากค่าที่ควรจะเป็นของข้อมูล

          การแปลผลค่าที่ได้จากการวัดการกระจาย ถ้ามีค่าน้อยก็แสดงว่าค่าของข้อมูลชุดนั้นกระจายตัวน้อยหรือมีค่าที่ไม่ค่อยมีความแตกต่างกัน  แต่ถ้ายิ่งมีค่ามากก็จะแสดงว่าข้อมูลชุดนั้นมีการกระจายตัวหรือแตกต่างกันมาก 

เครื่องมือที่นิยมใช้วัดการกระจายมี  2  ชนิด  คือ

 

        1. พิสัย (Range)

        
         เป็นการวัดการกระจายโดยอาศัยความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดและค่าต่ำสุดของข้อมูล  โดยพิสัยเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดการกระจายที่ง่ายที่สุด  ควรใช้เมื่อไม่ต้องการความละเอียดหรือข้อมูลมีค่าไม่แตกต่างกันมาก  เพราะพิสัยจะมีความละเอียดน้อยลงเมื่อข้อมูลมีค่าแตกต่างกันมาก

สูตรการคำนวณ 

          พิสัย (R)  =  ค่ามากที่สุด - ค่าน้อยที่สุด

ตัวอย่าง : หาค่าพิสัยความสูงต้นไม้ของกลุ่มที่ 1
          
          พิสัย = ค่ามากที่สุด -  ค่าน้อยที่สุด
                 = 4.5 - 3.9 
                 = 0.6 

        2. ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)  

 

        เป็นการวัดการกระจายโดยใช้วิธีการยกกำลัง 2 ของค่าผลต่างระหว่างค่าของข้อมูลกับค่าเฉลี่ยเพื่อขจัดทิศทางของผลต่างออกก่อน หลังจากนั้นจึงนำมาหาผลรวมแล้วหารจำนวนข้อมูลทั้งหมดก่อนที่จะนำมาหารากที่ 2   โดยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นการวัดการกระจายที่ดีและนิยมใช้มากที่สุด

สูตรคำนวณ

        
          จะเห็นว่าสูตรคำนวณสำหรับส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานจะมี  2 สูตร  โดยเราสามารถเลือกใช้ดังนี้

          1. สูตรสำหรับกลุ่มประชากร  ใช้เมื่อทราบจำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มประชากร  หรือเพื่อต้องการอธิบายข้อมูลกลุ่มนั้นเท่านั้นไม่ได้ต้องการอ้างอิงไปถึงกลุ่มประชากร
          2. สูตรสำหรับกลุ่มตัวอย่าง  ใช้เมื่อเราสุ่มเก็บข้อมูลจำนวนหนึ่งมาจากจำนวนประชากรทั้งหมด  เพราะส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานที่ได้จากสูตรการคำนวณนี้จะใช้ในการอ้างอิงไปถึงประชากร  และสูตรการคำนวณนี้จะนิยมใช้ในสถิติเชิงอนุมานด้วย




           นอกจากนี้ถ้าเรานำส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมายกกำลัง 2  เราก็จะได้  "ความแปรปรวน (Variance,V) "  ดังนี้
           ดังนั้นในการอธิบายลักษณะของข้อมูลให้ได้สมบูรณ์  เราจะต้องพิจารณาทั้งแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง  และการกระจายของข้อมูลด้วย
 
 

1 ความคิดเห็น:

  1. Do you understand there is a 12 word phrase you can communicate to your man... that will induce deep feelings of love and impulsive attraction to you buried within his heart?

    That's because deep inside these 12 words is a "secret signal" that triggers a man's instinct to love, please and care for you with his entire heart...

    12 Words Who Trigger A Man's Desire Impulse

    This instinct is so hardwired into a man's mind that it will make him try better than ever before to take care of you.

    As a matter of fact, triggering this all-powerful instinct is so mandatory to achieving the best possible relationship with your man that as soon as you send your man one of these "Secret Signals"...

    ...You will immediately notice him open his mind and heart for you in a way he's never expressed before and he'll perceive you as the one and only woman in the galaxy who has ever truly attracted him.

    ตอบลบ