เคยสงสัยบ้างไหมสถิติมีกี่ประเภท แต่ละประเภทแตกต่างกันอย่างไร ทำไมจึงต้องแยกออกเป็นประเภทด้วย คำถามเหล่านี้จะหมดไปถ้าเราได้รู้จักประเภทของสถิติ
สถิติมี 2 ประเภท คือ
สถิติเชิงพรรณนา (Description Statistics)
สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics)
สถิติเชิงพรรณนา (Description Statistics)
สถิติเชิงพรรณณาหรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สถิติบรรยาย เป็นสถิติที่ใช้บรรยายหรือสรุปลักษณะสิ่งที่เราสนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรก็ได้ โดยมุ่งเน้นอธิบายหรือสรุปผลเรื่องราวต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาหรือประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพื่อให้เห็นภาพชัดเจนรวดเร็วและเข้าใจได้ง่าย
ข้อสรุปที่ได้จากสถิติประเภทนี้จะไม่สามารถนำไปอ้างอิงถึงกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรกลุ่มอื่นได้ จะใช้อธิบายเฉพาะกลุ่มตัวอย่างหรือประชากรที่เรานำข้อมูลมาใช้เท่านั้น ซึ่งสถิติประเภทนี้ถือเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นพื้นฐานและถูกนำมาใช้กันบ่อยๆ
เครื่องมือสำหรับสถิติประเภทนี้มี 2 รูปแบบคือ การแสดงผลด้วยแผนภาพ และการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น
1. การแสดงผลด้วยแผนภาพ (Visual Techniques)
เป็นการเน้นให้เข้าใจพฤติกรรมและข้อเท็จจริงของข้อมูลเพื่อตีความหมายได้ง่ายขึ้น โดยการนำข้อมูลมาแปลงให้เป็นตาราง แผนภาพ แผนภูมิ กราฟ หรือรูปภาพ แล้วจึงทำการตีความหมายด้วยตาเปล่า
ตัวอย่างการแสดงผลน้ำหนักของนักเรียนกลุ่มหนึ่งด้วยตารางแจกแจงความถี่
น้ำหนัก(กิโลกรัม)
|
ความถี่(คน)
|
45-50
|
2
|
51-55
|
4
|
56-60
|
8
|
61-65
|
5
|
66-70
|
4
|
71 ขึ้นไป
|
1
|
จากตัวอย่างด้านบนเราจะสามารถสรุปได้ว่า น้ำหนักเฉลี่ยส่วนใหญ่ของนักเรียนกลุ่มนี้อยู่ที่ 56-60 กิโลกรัม
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Data Analysis)
เป็นการคำนวณหาลักษณะเฉพาะของข้อมูลให้ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อนำตัวเลขนั้นไปใช้อธิบายประชากรหรือสิ่งที่สนใจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะประกอบด้วย
1. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
2. การวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น (Data Analysis)
เป็นการคำนวณหาลักษณะเฉพาะของข้อมูลให้ออกมาเป็นตัวเลข เพื่อนำตัวเลขนั้นไปใช้อธิบายประชากรหรือสิ่งที่สนใจ โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจะประกอบด้วย
1. การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
เป็นการหาค่าเพื่อนำมาเป็นตัวแทนของข้อมูล เพื่ออธิบายลักษณะของข้อมูล โดยค่าที่ได้จะเป็นค่าที่ข้อมูลทั้งหมดมีแนวโน้มเข้าหาค่าๆ
นี้
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ฐานนิยม มัธยฐาน
2. การหาตำแหน่งของข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ฐานนิยม มัธยฐาน
2. การหาตำแหน่งของข้อมูล
เป็นการหาค่าที่แสดงตำแหน่งของข้อมูล เพื่ออธิบายว่าข้อมูลอยู่ในตำแหน่งใด และอยู่ในตำแหน่งที่ดีหรือไม่
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่
เปอร์เซ็นต์ไทล์ ควอไทล์ และเดไซล์
3. การวัดการกระจาย
เป็นการหาค่าที่ใช้เพื่ออธิบายลักษณะการกระจายของข้อมูล เพื่อดูว่าข้อมูลเกาะกลุ่มหรือกระจายแยกจากกันมากน้อยแค่ไหน
ซึ่งก็คือการหาขนาดของความเบี่ยงเบนจากค่าที่ควรจะเป็นของข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย
เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ค่าความแปรปรวน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย
4. การหารูปทรง
เป็นการหาค่าที่ใช้เพื่ออธิบายรูปทรงของข้อมูล เช่น ความสมมาตร ความเบ้ ความโด่ง โดยการหารูปทรงมักจะนำข้อมูลมาแจกแจงความถี่เพื่อช่วยในการดูรูปทรงของข้อมูล
เป็นการหาค่าที่ใช้เพื่ออธิบายรูปทรงของข้อมูล เช่น ความสมมาตร ความเบ้ ความโด่ง โดยการหารูปทรงมักจะนำข้อมูลมาแจกแจงความถี่เพื่อช่วยในการดูรูปทรงของข้อมูล